Stock Warrior - นักรบหุ้น
คิดจะออกรบในสมรภูมิหุ้น ต้องหมั่นฝึกฝน วางแผน และทำตามแผน จะได้ไม่ไปตายในสมรภูมิตลาดหุ้น
วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
Opp. Day Q3/16...MCS
- กำไร all time high ตั้งแต่เข้าตลาด
- ราคาขายต่อตัน, น้ำหนักงานที่ส่งมอบได้ สูงสุดเป็นประวัติการณ์
- จ่ายเงินปันผลสูงสุดเท่าที่เคยจ่ายมา
- ขยายกำลังการผลิต โดย Robot welding machine
- CEO ดร.ไนยวน ชิ บอกว่าตอนนี้อะไรที่บ.ในญี่ปุ่นทำได้ mcs ก็ทำได้ทุกอย่าง
- ขายงานที่ญี่ปุ่นต้องมีใบ cer. ไม่ใช่ว่ามีเครื่องก็ขายได้ ทุกอย่างต้องมี cer.
- ตอนนี้ บ.ที่ขายงานเหล็กในญี่ปุ่น นอกจากญี่ปุ่นด้วยกัน ก็มี MCS เจ้าเดียว
- ที่ราคาขายต่อหน่วยมากขึ้น ก็เพราะทำงานที่ยากกว่า ได้ราคาดีกว่า ตึกเดียวกัน แต่mcs ทำงานที่ยากกว่า เกรดของงานดีกว่า เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ก็ย่อมขายงานได้ราคาดีกว่า ดร.บอกว่าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น กำไรที่ได้มากขึ้น บ.ก็สมควรได้รับอยู่แล้ว ถึงเวลาก็ต้องได้
Q&A ที่น่าสนใจ
Q : ถามเกี่ยวกับบ.นัตสึ ที่บ.ลงทุนไป วางไว้ว่าจะเป็น growth engine ตัวถัดไป มีแผนยังไง
A : บ.นัตสึเป็น ฐานของ บ.MCS ที่ญี่ปุ่น เวลาลูกค้าต้องการแก้งาน เปลี่ยนแปลงในนาทีสุดท้าย จะได้ทำได้สะดวก โดยทำที่นัตสึ ที่ญี่ปุ่นเลย ไม่ต้องมาแก้ที่ไทย สะดวกกับลูกค้าที่ญี่ปุ่น และลดความกดดันในการทำงานที่ไทยด้วย (ปกติที่ญี่ปุ่นจะมีการแก้งานก่อนรับมอบบ่อย ๆ เป็นปกติอยู่แล้ว) จริง ๆ ตัว บ.นัตสึก็ไม่ได้มีกำไรอะไรอยู่แล้ว
Q : งานในมือตอนนี้ และคาดการณ์อนาคต
A : 2017 49,900 ตัน
2018 40,000 ตัน
2019 เกือบ ๆ 30,000 ตัน
ดร.บอกว่าขอให้มอง MCS เป็นปี ๆ อย่ามองรายไตรมาส เพราะบันทึกบัญชีตามการส่งมอบงาน ถ้ายังไม่ได้ส่งก็ยังไม่มีการบันทึก
Q : มีโครงการซื้อหุ้นคืนมั๊ย หุ้นที่ซื้อคืนครั้งก่อนจะนำมาขายในตลาดหรือเอาออกตลาดเลย
A : ส่วนตัวมีแผนแต่ยังไม่สามารถทำได้ เพราะยังไม่พ้นช่วงเวลาจากการซื้อคืนครั้งก่อน ส่วนเรื่องหุ้นที่ซื้อคืนมาแล้วจะทำยังไง ดร.บอกว่าจริง ๆ แล้วก็ต้องแล้วแต่ผู้ถือหุ้น ตัวดร.ยังไงก็ได้ ถ้ามีโอกาสก็ตัดออก เงินสดในบ.เยอะแยะ ฮ่า ๆ
Q : โครงการที่กำลังเข้าร่วมประมูลอยู่
A : กำลังจะไปเจรจาอยู่ ของ Miuzu ถ้าได้จะเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่ MCS เคยได้
- จุดขายของ MCS คือมี stockyard เยอะกว่า บ.ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นที่แพง มี stockyard เยอะก็ไม่คุ้ม ไม่ก่อรายได้
- งานตึกสูง ภายในอีก 5 ปี ยังมีเยอะ
- งาน Robot ไม่ไปรบกวนงานเดิม รับงานได้มากขึ้น
- งานที่เยอะไม่ใช่เพราะโอลิมปิค แต่เพราะก่อนหน้านั้นงานไม่ค่อยมีเท่าไหร่ มาเพิ่มเยอะช่วงนี้พอดี โอลิมปิคเป็นงานเพื่อชาติ กำไรน้อย ปัญหาเยอะ หลาย บ.ก็ไม่อยากได้เท่าไหร่
Q : Forward ค่าเงิน เมื่อก่อน บ.ไม่เคยทำ ทำไมถึงทำ
A : เมื่อก่อนไม่คิดทำ แต่มีผู้ถือหุ้นทักให้ทำเรื่อย ๆ ก็เลยทำ แต่ทำแล้วก็ไม่มีอะไรดี อนาคตคงไม่ทำแล้ว
Q : แผนในการบริหาร net profit และ เรื่องราคาเหล็ก
A : เรื่องเรือขนส่งก็คงคุมอะไรไม่ได้ ตามราคาน้ำมัน ส่วนเรื่องต้นทุนเหล็ก ก็มีการตกลงราคากับลูกค้าตามต้นทุนเหล็กอยู่แล้ว
สรุป Opportunity Day Q2/2016 SPCG
Business Overview
Solar Farm :
ในประเทศไทย มีการลงทุนทั้งหมด 36 แห่ง และ COD ทั้งหมดแล้ว
Total Capacity 260 MW
ทุก license ได้รับ adder 8 บาท
ลงทุนในประเทศญี่ปุ่น 30 MW เป็น Solar Farm แรกที่ลงทุนในต่างประเทศ และยังจะมีอย่างต่อเนื่อง
Solar Rooftop :
ดำเนินการโดย SPR ซึ่งเป็นบ.ในเครือของ SPCG รับติดตั้งระบบ Solar บนหลังคาทั้งบ้านพักอาศัย และโรงงาน รวมทั้งดูในเรื่องของ Energy efficiency ให้กับลูกค้าด้วย
EPC and O&MM
ดำเนินการโดย SPE คอยทำหน้าที่ในการ Operating, Monitoring & Maintenance service ให้กับลูกค้าทั้งที่เป็น Solar Farm และ Solar Roof
Steel Roofing
ผลิต รีดลอนหลังคา สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนหลังคา ช่วยในการ support บ. SPR โดยลูกค้าหรือโรงงานที่ต้องการติดตั้ง Solar Roof บางทีหลังคาอาจจะไม่ support ต้องเปลี่ยนหลังคา บ.นี้ก็จะมาช่วยตรงนี้
Financial Highlight
Revenue : รายได้ 6 เดือนแรก 2016 เท่ากับ 2,428.3 ลบ. ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2015 ที่ 2,598.8 ลบ. ด้วย 2 สาเหตุคือ 1.ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ในปีนี้ 200 ล้าน kWh ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 201.6 ล้าน kWh 2.ราคาขายไฟเฉลี่ยครึ่งปีแรกของปีนี้ 11.2 บ./หน่วย ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 11.5 บ./หน่วย
สินทรัพย์รวมส่วนใหญ่ เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 72%
D/E ลดลงจากสิ้นปีแล้วที่ 1.92 เป็น 1.78
Potential Business
ยังโฟกัสที่การลงทุนใน Solar Farm เพื่อขายกระแสไฟฟ้าให้กับรัฐ หลังจากลงทุนที่ญี่ปุ่นไป 30 MW แรก ก็ยังมีโครงการต่อ ๆ ไปที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ ในประเทศโฟกัสไปที่ Solar Roofอัพเดตโครงการ 30 MW ที่ญี่ปุ่น
ลงทุนที่ Tottori คาดว่าจะ COD ได้ใน Q1/2017 ได้รับ FiT ที่ 36 JPY
การทำ Solar Farm ที่ญี่ปุ่นจะต้องแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน แล้วทำเป็น Solar Farm ได้ส่วนเดียว ของที่ SPCG ไปทำ ส่วนที่เหลือเป็น Golf Course ซึ่งใช้เวลาเคลียร์พื้นที่ค่อนข้างนาน
แผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ ตั้งเป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าในปี 2036 ให้มีกำลังการผลิตติดตั้งที่ 70,335 MW โดยมาจากพลังงานทางเลือก 19,684 MW คิดเป็น 28% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด
และแบ่งย่อยไปอีกว่าจะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 6,000 MW (สิ้นปี 2016 น่าจะมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 2,000 MW)
การคัดเลือกเปิดรับผู้ที่จะขายไฟให้กับรัฐมีแนวโน้มว่าจะใช้วิธี Competitive Bidding แข่งกันยื่นเสนอราคา FiT ใครให้ราคาต่ำที่สุดก็จะได้รับเลือกก่อน
นโยบายภาครัฐ Solar Roof เสรี ตอนนี้ยังเป็นนโยบายนำร่องในระยะแรกก่อน เพื่อทดสอบว่าเมื่อติดตั้ง Solar Roof แล้ว ไฟที่ไหลย้อนเข้าระบบ จะไปรบกวนระบบและคุณภาพของไฟฟ้าตามสายส่งมากน้อยแค่ไหน
วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2559
DSM ลงทุนหุ้นแบบซื้อสินทรัพย์เพื่อสร้างกระแสเงินสด (แบบมั่ว ๆ และดัดแปลงตามที่เข้าใจ)
DSM ย่อมาจาก Densri Method เป็นชื่อของคุณเด่นศรีผู้คิดค้นวิธีการลงทุนนี้
เป็นวิธีการลงทุนที่อาศัยความผันผวนของราคาหุ้นในการดึงเงินสดออกมา และเพิ่มจำนวนหุ้นโดยใช้เงินสดที่ดึงออกมาได้จากระบบ
2.ระบบบัญชี ที่จะทำให้มองเห็นภาพรวม กระแสเงินสดที่ดึงออกมาได้จากระบบ จำนวนหุ้นและราคาที่ซื้อเพิ่มหรือซื้อคืนได้
1. เลือกหุ้นที่เราตั้งใจจะถือหรือเป็นเจ้าของบริษัทไปตลอดชีวิตหรือนานที่สุดหลาย ๆ ปี ถ้าไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรต่อพื้นฐานของบริษัท โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมที่ควรพิจารณา คือ
1.1 มีปริมาณการซื้อขายต่อวันพอสมควร โดยอาจกำหนดว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 1-2 ปี มากกว่า 10 ล้านบาท ยิ่งหุ้นมีความผันผวนขึ้นลงได้ง่ายยิ่งมีโอกาสสร้างกระแสเงินสดมาก อาจดูกราฟราคาย้อนหลังประกอบการตัดสินใจเลือกหุ้นด้วย เพราะหุ้นบางตัวปริมาณการซื้อขายต่อวันมาก แต่ไม่ค่อยมีการแกว่งตัวของราคามากเท่าไหร่ นิ่งอยู่ที่เดิมหรือแกว่งน้อยเกินไป ก็ทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสดึงกระแสเงินสดออกมาจากความผันผวนมากเท่าไหร่
1.2 หุ้นในพอร์ตไม่ควรกระจุกตัวอยู่ sector ใด sector หนึ่งมากเกินไป เวลาหุ้นนิ่งมันมักจะชอบนิ่งเหมือน ๆ กันทั้ง sector ทั้งกลุ่ม
1.3 สามารถซื้อหุ้นได้อย่างน้อย 10,000 หุ้นขึ้นไป เพื่อการแบ่งสัดส่วนการซื้อขายที่ง่ายและสะดวก หรือถ้าเป็นหุ้นที่อยากได้จริง ๆ ก็ไม่ควรต่ำกว่า 1,000 หุ้น เพราะเวลาแบ่งขายจะได้แบ่งได้ไม่ต่ำกว่า 10 ส่วน
2. หลังจากซื้อหุ้นได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ใช้ราคาที่ซื้อหุ้นเป็นจุดอ้างอิง เช่น ซื้อลงทุนหุ้นที่ 10.00 บาท ราคาอ้างอิงคือ 10.00
2.1 ถ้าหุ้นขึ้นไป 2 ช่องจากจุดอ้างอิง ถ้างบของหุ้นนั้นยังเหลือ ให้ซื้อ 10% ของจำนวนหุ้นที่ลงทุน และขยับจุดอ้างอิงขึ้นไปที่ราคานั้น เช่นหลังจากซื้อหุ้นที่ 10.00 บาทแล้วหุ้นขึ้นไปที่ 10.20 (2 ช่อง) ราคาอ้างอิงก็จะกลายเป็น 10.20 แต่ถ้างบในการซื้อหุ้นตัวนั้นหมดแล้ว ให้ขยับเฉพาะราคาอ้างอิงขึ้นไปแต่ไม่ต้องซื้อเพิ่ม จนกว่าราคาจะวกกลับลงมา 3 ช่องจากจุดอ้างอิง จึงขยับจุดอ้างอิงกลับลงมา และขาย 10 %
2.2 ถ้าหุ้นลงมา 2 ช่องจากจุดอ้างอิง ให้ขาย 10% ของจำนวนหุ้นลงทุน และขยับจุดอ้างอิงลงมา แต่ถ้าหุ้นหมดมือ ให้ขยับจุดอ้างอิงลงมาเรื่อย ๆ จนกว่าราคาจะวกกลับขึ้นไปจากจุดอ้างอิง 3 ช่องจึงขยับจุดอ้างอิงขึ้นไป และเริ่มซื้อกลับ 10%
2.3 จุดอ้างอิงของขาขึ้น(ซื้อ) กับ จุดอ้างอิงของขาลง (ขาย) ไม่ควรจะซ้ำกัน ควรสลับฟันปลากันจะได้ไม่งงในการซื้อขาย และสะดวกในการลงบัญชี เช่น ซื้อหุ้นที่ 10.00 บาท จุดอ้างอิงถัดไปของขาขึ้นหรือฝั่งซื้อควรจะเป็น 10.20 10.40 10.60 10.80 ในขณะที่ฝั่งขายควรเป็นที่ราคา 10.30 10.50 10.70 10.90 ตรงนี้อาจจะงง แต่ถ้าลองทำเป็นตารางน่าจะเห็นภาพง่ายกว่า
3. ทำบัญชีการซื้อขาย จับคู่ตำแหน่งที่ราคาหุ้นสร้างกระแสเงินสดให้เราได้ (ซื้อต่ำกว่าขาย) ส่วนที่ยังจับคู่ไม่ได้ก็ลงบัญชีทิ้งไว้เพื่อรอจับคู่
4.กระแสเงินสดจะมีอยู่สองส่วนคือ กระแสเงินสดอิสระ ส่วนนี้เราจะสามารถนำไปสะสมซื้อหุ้นตัวใหม่, ซื้อเพิ่มจำนวนหุ้นตัวเดิม หรือดึงบางส่วนออกมาสู่บัญชีใช้จ่ายก็ได้ กับอีกส่วนคือกระแสเงินสดจากการขายหุ้น ซึ่งส่วนนี้ถือว่าเป็นงบประมาณเงินสดสำหรับซื้อหุ้นตัวเดิม ในกรณีที่หุ้นขึ้นไปแล้วซื้อคืนยังไม่ได้ ถ้าหุ้นขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเราซื้อจนหมดงบที่ได้จากกระแสเงินสดจากการขายหุ้น แล้วหุ้นยังขึ้นไปต่อ ก็ไม่ต้องซื้อเพิ่มแล้ว รอหุ้นลงจึงค่อยขาย ถ้าขายแล้วหุ้นยังขึ้นไปอีก ก็ใช้เงินนั้นซื้อหุ้นเพิ่มตามงบที่มี วนไปเรื่อย ๆ ........ ทั้งสองส่วนนี้ต้องทำบัญชีให้ถูกต้อง ชัดเจน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และทราบทิศทางว่าควรซื้อ ถือ ขาย อย่างไร ต่อไปได้
เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ และไม่หลงทางในการลงทุนด้วยระบบนี้
1. ให้มองเหมือนกับเรากำลังซื้อสินทรัพย์อย่างเช่น บ้าน หรือตึกมาจำนวนหนึ่ง (การซื้อหุ้นเพื่อลงทุนครั้งแรก) แล้วปล่อยให้เช่าสร้างกระแสเงินสดรับอย่างต่อเนื่อง
2. โดยการเช่านั้นจะเหมือนกับเราได้รับเงินมัดจำก่อน (ขายหุ้นเมื่อลงจากจุดอ้างอิงทีละ 2 ช่อง)
3. เมื่อผู้เช่าจะย้ายออก จึงคืนเงินค่ามัดจำที่หักค่าเช่าแล้ว (ซื้อหุ้นคืนตามจุดที่ซื้อคืนได้)
4. ส่วนต่างก็จะเป็นค่าเช่า (กระแสเงินสดอิสระ) ที่เราได้รับ
5. ส่วนหุ้นที่ซื้อคืนไม่ได้ก็เหมือนกับผู้เช่ายังไม่ได้ย้ายออกไปไหน ยังไม่ได้จ่ายค่าเช่า แต่เงินมัดจำอยู่กับเรา (เงินที่ขายหุ้นออกไปแล้วยังซื้อคืนไม่ได้)
6. เมื่อเห็นว่าอีกนานกว่าจะได้ค่าเช่าจากผู้เช่ารายนี้ ก็เอาเงินมัดจำที่เค้าจ่ายไว้ไปซื้อห้องใหม่เพื่อเปิดให้เช่าเพิ่มแทนเลย (ซื้อหุ้นเพิ่มที่ราคาข้างบน เมื่อเห็นว่าราคาขึ้นไปพอสมควร ซื้อคืนราคาด้านล่างคงอีกนาน หรือต้องรอขาลงรอบใหม่)
7. ตรงนี้อาจจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดดี ๆ ถ้าเกิดผู้เช่าต้องการออก แล้วไม่มีเงินมัดจำมาจ่าย ก็อาจเดือดร้อนได้ (เหมือนซื้อหุ้นเพิ่มไปแล้ว แต่หุ้นดันลงแรง แล้วไม่มีเงินซื้อจับคู่คืน) ประสบการณ์จะช่วยให้จัดการตรงนี้ได้ดีขึ้น สำหรับมือใหม่ แนะนำว่าให้ลงทุนซื้อห้องเพิ่ม 2 ห้อง เมื่อมีห้องที่ยังค้างมัดจำอยู่อีก 3 ห้อง (ซื้อหุ้นเพิ่มได้ 2 ส่วน เมื่อขายหุ้นแล้วซื้อคืนด้านล่างไม่ได้ 3 ส่วน) จะทำให้บริหารเงินสดได้ง่ายขึ้น
8. หุ้นที่เราซื้อก็เหมือนกับตึกที่เราซื้อ ถ้าเราซื้อหุ้นที่ดี มีอนาคต ก็เหมือนกับซื้อตึกที่ทำเลดี อนาคตสามารถเพิ่มค่าเช่าได้ (ส่วนต่างราคาที่จับคู่หุ้น เพื่อสร้างกระแสเงินสดจะเพิ่มขึ้น)
9. ค่าเช่าที่เราได้มา (กระแสเงินสดอิสระ) เราก็สามารถบริหารได้ว่าจะนำไปลงทุนซื้อห้องเพิ่มที่ทำเลเดิม (ซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่ม), เอาไปซื้อตึกที่ทำเลใหม่ (ซื้อหุ้นตัวใหม่), เก็บไว้เป็นเงินหมุนเวียน (เป็นเหมือน buffer เผื่อเหลือเผื่อขาด กรณีข้อ 7.) หรือจะนำไปใช้ ไปลงทุนอย่างอื่นต่อไปก็ได้
เป็นวิธีการลงทุนที่อาศัยความผันผวนของราคาหุ้นในการดึงเงินสดออกมา และเพิ่มจำนวนหุ้นโดยใช้เงินสดที่ดึงออกมาได้จากระบบ
หัวใจสำคัญของวิธีการลงทุนนี้คือ
1.การวางแผนการซื้อขาย ซึ่งมีกฎหลักอยู่สองอย่างคือ มีเวลาไม่จำกัดในการซื้อคืน และซื้อคืนให้ต่ำกว่าตอนขาย2.ระบบบัญชี ที่จะทำให้มองเห็นภาพรวม กระแสเงินสดที่ดึงออกมาได้จากระบบ จำนวนหุ้นและราคาที่ซื้อเพิ่มหรือซื้อคืนได้
วิธีการที่ผมใช้ตอนนี้
การลงทุนแบบ DSM นั้นเป็นวิธีที่ไม่มีการสอน ไม่มีใครทราบวิธีที่ถูกต้องแน่นอน มีเพียงการคาดเดาไปต่าง ๆ นานา แต่ยึดหลักสำคัญตามที่กล่าวไว้ข้างบน ทำให้มีหลากหลายวิธีมากเวลาค้นหาวิธีการลงทุนแบบ DSM ของแต่ละท่านที่แชร์กัน วิธีที่ผมทดลองใช้ตอนนี้ก็คือ1. เลือกหุ้นที่เราตั้งใจจะถือหรือเป็นเจ้าของบริษัทไปตลอดชีวิตหรือนานที่สุดหลาย ๆ ปี ถ้าไม่มีเหตุการณ์สำคัญอะไรต่อพื้นฐานของบริษัท โดยมีคุณสมบัติเพิ่มเติมที่ควรพิจารณา คือ
1.1 มีปริมาณการซื้อขายต่อวันพอสมควร โดยอาจกำหนดว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 1-2 ปี มากกว่า 10 ล้านบาท ยิ่งหุ้นมีความผันผวนขึ้นลงได้ง่ายยิ่งมีโอกาสสร้างกระแสเงินสดมาก อาจดูกราฟราคาย้อนหลังประกอบการตัดสินใจเลือกหุ้นด้วย เพราะหุ้นบางตัวปริมาณการซื้อขายต่อวันมาก แต่ไม่ค่อยมีการแกว่งตัวของราคามากเท่าไหร่ นิ่งอยู่ที่เดิมหรือแกว่งน้อยเกินไป ก็ทำให้ไม่ค่อยมีโอกาสดึงกระแสเงินสดออกมาจากความผันผวนมากเท่าไหร่
1.2 หุ้นในพอร์ตไม่ควรกระจุกตัวอยู่ sector ใด sector หนึ่งมากเกินไป เวลาหุ้นนิ่งมันมักจะชอบนิ่งเหมือน ๆ กันทั้ง sector ทั้งกลุ่ม
1.3 สามารถซื้อหุ้นได้อย่างน้อย 10,000 หุ้นขึ้นไป เพื่อการแบ่งสัดส่วนการซื้อขายที่ง่ายและสะดวก หรือถ้าเป็นหุ้นที่อยากได้จริง ๆ ก็ไม่ควรต่ำกว่า 1,000 หุ้น เพราะเวลาแบ่งขายจะได้แบ่งได้ไม่ต่ำกว่า 10 ส่วน
2. หลังจากซื้อหุ้นได้ตามจำนวนที่ต้องการแล้ว ใช้ราคาที่ซื้อหุ้นเป็นจุดอ้างอิง เช่น ซื้อลงทุนหุ้นที่ 10.00 บาท ราคาอ้างอิงคือ 10.00
2.1 ถ้าหุ้นขึ้นไป 2 ช่องจากจุดอ้างอิง ถ้างบของหุ้นนั้นยังเหลือ ให้ซื้อ 10% ของจำนวนหุ้นที่ลงทุน และขยับจุดอ้างอิงขึ้นไปที่ราคานั้น เช่นหลังจากซื้อหุ้นที่ 10.00 บาทแล้วหุ้นขึ้นไปที่ 10.20 (2 ช่อง) ราคาอ้างอิงก็จะกลายเป็น 10.20 แต่ถ้างบในการซื้อหุ้นตัวนั้นหมดแล้ว ให้ขยับเฉพาะราคาอ้างอิงขึ้นไปแต่ไม่ต้องซื้อเพิ่ม จนกว่าราคาจะวกกลับลงมา 3 ช่องจากจุดอ้างอิง จึงขยับจุดอ้างอิงกลับลงมา และขาย 10 %
2.2 ถ้าหุ้นลงมา 2 ช่องจากจุดอ้างอิง ให้ขาย 10% ของจำนวนหุ้นลงทุน และขยับจุดอ้างอิงลงมา แต่ถ้าหุ้นหมดมือ ให้ขยับจุดอ้างอิงลงมาเรื่อย ๆ จนกว่าราคาจะวกกลับขึ้นไปจากจุดอ้างอิง 3 ช่องจึงขยับจุดอ้างอิงขึ้นไป และเริ่มซื้อกลับ 10%
2.3 จุดอ้างอิงของขาขึ้น(ซื้อ) กับ จุดอ้างอิงของขาลง (ขาย) ไม่ควรจะซ้ำกัน ควรสลับฟันปลากันจะได้ไม่งงในการซื้อขาย และสะดวกในการลงบัญชี เช่น ซื้อหุ้นที่ 10.00 บาท จุดอ้างอิงถัดไปของขาขึ้นหรือฝั่งซื้อควรจะเป็น 10.20 10.40 10.60 10.80 ในขณะที่ฝั่งขายควรเป็นที่ราคา 10.30 10.50 10.70 10.90 ตรงนี้อาจจะงง แต่ถ้าลองทำเป็นตารางน่าจะเห็นภาพง่ายกว่า
3. ทำบัญชีการซื้อขาย จับคู่ตำแหน่งที่ราคาหุ้นสร้างกระแสเงินสดให้เราได้ (ซื้อต่ำกว่าขาย) ส่วนที่ยังจับคู่ไม่ได้ก็ลงบัญชีทิ้งไว้เพื่อรอจับคู่
4.กระแสเงินสดจะมีอยู่สองส่วนคือ กระแสเงินสดอิสระ ส่วนนี้เราจะสามารถนำไปสะสมซื้อหุ้นตัวใหม่, ซื้อเพิ่มจำนวนหุ้นตัวเดิม หรือดึงบางส่วนออกมาสู่บัญชีใช้จ่ายก็ได้ กับอีกส่วนคือกระแสเงินสดจากการขายหุ้น ซึ่งส่วนนี้ถือว่าเป็นงบประมาณเงินสดสำหรับซื้อหุ้นตัวเดิม ในกรณีที่หุ้นขึ้นไปแล้วซื้อคืนยังไม่ได้ ถ้าหุ้นขึ้นเรื่อย ๆ แล้วเราซื้อจนหมดงบที่ได้จากกระแสเงินสดจากการขายหุ้น แล้วหุ้นยังขึ้นไปต่อ ก็ไม่ต้องซื้อเพิ่มแล้ว รอหุ้นลงจึงค่อยขาย ถ้าขายแล้วหุ้นยังขึ้นไปอีก ก็ใช้เงินนั้นซื้อหุ้นเพิ่มตามงบที่มี วนไปเรื่อย ๆ ........ ทั้งสองส่วนนี้ต้องทำบัญชีให้ถูกต้อง ชัดเจน เพื่อช่วยในการตัดสินใจ และทราบทิศทางว่าควรซื้อ ถือ ขาย อย่างไร ต่อไปได้
เพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ และไม่หลงทางในการลงทุนด้วยระบบนี้
เราควรมองในภาพรวม คล้าย ๆ การลงทุนในสินทรัพย์เพื่อสร้างกระแสเงินสด
1. ให้มองเหมือนกับเรากำลังซื้อสินทรัพย์อย่างเช่น บ้าน หรือตึกมาจำนวนหนึ่ง (การซื้อหุ้นเพื่อลงทุนครั้งแรก) แล้วปล่อยให้เช่าสร้างกระแสเงินสดรับอย่างต่อเนื่อง
2. โดยการเช่านั้นจะเหมือนกับเราได้รับเงินมัดจำก่อน (ขายหุ้นเมื่อลงจากจุดอ้างอิงทีละ 2 ช่อง)
3. เมื่อผู้เช่าจะย้ายออก จึงคืนเงินค่ามัดจำที่หักค่าเช่าแล้ว (ซื้อหุ้นคืนตามจุดที่ซื้อคืนได้)
4. ส่วนต่างก็จะเป็นค่าเช่า (กระแสเงินสดอิสระ) ที่เราได้รับ
5. ส่วนหุ้นที่ซื้อคืนไม่ได้ก็เหมือนกับผู้เช่ายังไม่ได้ย้ายออกไปไหน ยังไม่ได้จ่ายค่าเช่า แต่เงินมัดจำอยู่กับเรา (เงินที่ขายหุ้นออกไปแล้วยังซื้อคืนไม่ได้)
6. เมื่อเห็นว่าอีกนานกว่าจะได้ค่าเช่าจากผู้เช่ารายนี้ ก็เอาเงินมัดจำที่เค้าจ่ายไว้ไปซื้อห้องใหม่เพื่อเปิดให้เช่าเพิ่มแทนเลย (ซื้อหุ้นเพิ่มที่ราคาข้างบน เมื่อเห็นว่าราคาขึ้นไปพอสมควร ซื้อคืนราคาด้านล่างคงอีกนาน หรือต้องรอขาลงรอบใหม่)
7. ตรงนี้อาจจะต้องเผื่อเหลือเผื่อขาดดี ๆ ถ้าเกิดผู้เช่าต้องการออก แล้วไม่มีเงินมัดจำมาจ่าย ก็อาจเดือดร้อนได้ (เหมือนซื้อหุ้นเพิ่มไปแล้ว แต่หุ้นดันลงแรง แล้วไม่มีเงินซื้อจับคู่คืน) ประสบการณ์จะช่วยให้จัดการตรงนี้ได้ดีขึ้น สำหรับมือใหม่ แนะนำว่าให้ลงทุนซื้อห้องเพิ่ม 2 ห้อง เมื่อมีห้องที่ยังค้างมัดจำอยู่อีก 3 ห้อง (ซื้อหุ้นเพิ่มได้ 2 ส่วน เมื่อขายหุ้นแล้วซื้อคืนด้านล่างไม่ได้ 3 ส่วน) จะทำให้บริหารเงินสดได้ง่ายขึ้น
8. หุ้นที่เราซื้อก็เหมือนกับตึกที่เราซื้อ ถ้าเราซื้อหุ้นที่ดี มีอนาคต ก็เหมือนกับซื้อตึกที่ทำเลดี อนาคตสามารถเพิ่มค่าเช่าได้ (ส่วนต่างราคาที่จับคู่หุ้น เพื่อสร้างกระแสเงินสดจะเพิ่มขึ้น)
9. ค่าเช่าที่เราได้มา (กระแสเงินสดอิสระ) เราก็สามารถบริหารได้ว่าจะนำไปลงทุนซื้อห้องเพิ่มที่ทำเลเดิม (ซื้อหุ้นตัวเดิมเพิ่ม), เอาไปซื้อตึกที่ทำเลใหม่ (ซื้อหุ้นตัวใหม่), เก็บไว้เป็นเงินหมุนเวียน (เป็นเหมือน buffer เผื่อเหลือเผื่อขาด กรณีข้อ 7.) หรือจะนำไปใช้ ไปลงทุนอย่างอื่นต่อไปก็ได้
วันศุกร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2557
Descending Triangle
Descending Triangle เป็น Bearish Formation สามเหลี่ยมนี้มักจะเกิดในขาลงของราคาหุ้น เป็น continuation pattern แสดงถึงการลงต่อเนื่องของราคาหุ้น แต่ก็มีบางกรณีที่ Descending triangle เกิดใน uptrend เป็น reversal pattern แสดงถึงการจบรอบของ uptrend นั้น สามเหลี่ยมนี้บ่งบอกว่าหุ้นอยู่ในช่วง distribution
รูปร่างของแพทเทิร์นนี้ก็จะเป็นสามเหลี่ยมที่มีฐานเป็นเส้นตรงแนวขวางอยู่ด้านล่าง เกิดจาก
1. จุด low ของกราฟที่ราคาเท่ากันหรือใกล้เคียงกันสองจุดหรือมากกว่า เกิดเป็นแนว Support
2. เส้นสัมผัสกับ high ที่ลดลงของกราฟราคาอย่างน้อยสองจุด เป็นเส้น Resistant ที่ลดลงมาเรื่อย ๆ
รูปร่างของแพทเทิร์นนี้ก็จะเป็นสามเหลี่ยมที่มีฐานเป็นเส้นตรงแนวขวางอยู่ด้านล่าง เกิดจาก
1. จุด low ของกราฟที่ราคาเท่ากันหรือใกล้เคียงกันสองจุดหรือมากกว่า เกิดเป็นแนว Support
2. เส้นสัมผัสกับ high ที่ลดลงของกราฟราคาอย่างน้อยสองจุด เป็นเส้น Resistant ที่ลดลงมาเรื่อย ๆ
- Trend เนื่องจากรูปแบบนี้เป็น Contiuation Pattern จึงควรเกิด Trend มาก่อนหน้าที่จะเกิดรูปแบบนี้ แต่อย่างไรก็ตามรูปแบบนี้ถือเป็น Bearish Formation อยู่แล้ว ความแรงหรือระยะเวลาของ Trend ก่อนหน้าก็ยังไม่สำคัญเท่ากับการ form ตัวให้ได้ pattern ที่ถูกต้องน่าเชื่อถือ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)