วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Opp. Day Q3/16...MCS


- กำไร all time high ตั้งแต่เข้าตลาด
- ราคาขายต่อตัน, น้ำหนักงานที่ส่งมอบได้ สูงสุดเป็นประวัติการณ์
- จ่ายเงินปันผลสูงสุดเท่าที่เคยจ่ายมา
- ขยายกำลังการผลิต โดย Robot welding machine
- CEO ดร.ไนยวน ชิ บอกว่าตอนนี้อะไรที่บ.ในญี่ปุ่นทำได้ mcs ก็ทำได้ทุกอย่าง
- ขายงานที่ญี่ปุ่นต้องมีใบ cer. ไม่ใช่ว่ามีเครื่องก็ขายได้ ทุกอย่างต้องมี cer.
- ตอนนี้ บ.ที่ขายงานเหล็กในญี่ปุ่น นอกจากญี่ปุ่นด้วยกัน ก็มี MCS เจ้าเดียว
- ที่ราคาขายต่อหน่วยมากขึ้น ก็เพราะทำงานที่ยากกว่า ได้ราคาดีกว่า ตึกเดียวกัน แต่mcs ทำงานที่ยากกว่า เกรดของงานดีกว่า เป็นที่ยอมรับของลูกค้า ก็ย่อมขายงานได้ราคาดีกว่า ดร.บอกว่าไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น กำไรที่ได้มากขึ้น บ.ก็สมควรได้รับอยู่แล้ว  ถึงเวลาก็ต้องได้

Q&A ที่น่าสนใจ

Q : ถามเกี่ยวกับบ.นัตสึ ที่บ.ลงทุนไป วางไว้ว่าจะเป็น growth engine ตัวถัดไป มีแผนยังไง

A : บ.นัตสึเป็น ฐานของ บ.MCS ที่ญี่ปุ่น เวลาลูกค้าต้องการแก้งาน เปลี่ยนแปลงในนาทีสุดท้าย จะได้ทำได้สะดวก โดยทำที่นัตสึ ที่ญี่ปุ่นเลย ไม่ต้องมาแก้ที่ไทย สะดวกกับลูกค้าที่ญี่ปุ่น และลดความกดดันในการทำงานที่ไทยด้วย (ปกติที่ญี่ปุ่นจะมีการแก้งานก่อนรับมอบบ่อย ๆ เป็นปกติอยู่แล้ว) จริง ๆ ตัว บ.นัตสึก็ไม่ได้มีกำไรอะไรอยู่แล้ว

Q : งานในมือตอนนี้ และคาดการณ์อนาคต

A : 2017 49,900 ตัน
      2018 40,000 ตัน
      2019 เกือบ ๆ  30,000 ตัน
      ดร.บอกว่าขอให้มอง MCS เป็นปี ๆ อย่ามองรายไตรมาส เพราะบันทึกบัญชีตามการส่งมอบงาน ถ้ายังไม่ได้ส่งก็ยังไม่มีการบันทึก

Q : มีโครงการซื้อหุ้นคืนมั๊ย หุ้นที่ซื้อคืนครั้งก่อนจะนำมาขายในตลาดหรือเอาออกตลาดเลย

A : ส่วนตัวมีแผนแต่ยังไม่สามารถทำได้ เพราะยังไม่พ้นช่วงเวลาจากการซื้อคืนครั้งก่อน ส่วนเรื่องหุ้นที่ซื้อคืนมาแล้วจะทำยังไง ดร.บอกว่าจริง ๆ แล้วก็ต้องแล้วแต่ผู้ถือหุ้น ตัวดร.ยังไงก็ได้ ถ้ามีโอกาสก็ตัดออก เงินสดในบ.เยอะแยะ ฮ่า ๆ

Q : โครงการที่กำลังเข้าร่วมประมูลอยู่

A : กำลังจะไปเจรจาอยู่ ของ Miuzu ถ้าได้จะเป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่ MCS เคยได้

- จุดขายของ MCS คือมี stockyard เยอะกว่า บ.ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นที่แพง มี stockyard เยอะก็ไม่คุ้ม ไม่ก่อรายได้
- งานตึกสูง ภายในอีก 5 ปี ยังมีเยอะ
- งาน Robot ไม่ไปรบกวนงานเดิม รับงานได้มากขึ้น
- งานที่เยอะไม่ใช่เพราะโอลิมปิค แต่เพราะก่อนหน้านั้นงานไม่ค่อยมีเท่าไหร่ มาเพิ่มเยอะช่วงนี้พอดี โอลิมปิคเป็นงานเพื่อชาติ กำไรน้อย ปัญหาเยอะ หลาย บ.ก็ไม่อยากได้เท่าไหร่

Q : Forward ค่าเงิน เมื่อก่อน บ.ไม่เคยทำ ทำไมถึงทำ

A : เมื่อก่อนไม่คิดทำ แต่มีผู้ถือหุ้นทักให้ทำเรื่อย ๆ ก็เลยทำ แต่ทำแล้วก็ไม่มีอะไรดี อนาคตคงไม่ทำแล้ว

Q : แผนในการบริหาร net profit และ เรื่องราคาเหล็ก

A : เรื่องเรือขนส่งก็คงคุมอะไรไม่ได้ ตามราคาน้ำมัน ส่วนเรื่องต้นทุนเหล็ก ก็มีการตกลงราคากับลูกค้าตามต้นทุนเหล็กอยู่แล้ว



สรุป Opportunity Day Q2/2016 SPCG

Business Overview


Solar Farm :
ในประเทศไทย มีการลงทุนทั้งหมด 36 แห่ง และ COD ทั้งหมดแล้ว
Total Capacity 260 MW
ทุก license ได้รับ adder 8 บาท
ลงทุนในประเทศญี่ปุ่น 30 MW เป็น Solar Farm แรกที่ลงทุนในต่างประเทศ และยังจะมีอย่างต่อเนื่อง

Solar Rooftop :
ดำเนินการโดย SPR ซึ่งเป็นบ.ในเครือของ SPCG รับติดตั้งระบบ Solar บนหลังคาทั้งบ้านพักอาศัย และโรงงาน รวมทั้งดูในเรื่องของ Energy efficiency ให้กับลูกค้าด้วย

EPC and O&MM
ดำเนินการโดย SPE คอยทำหน้าที่ในการ Operating, Monitoring & Maintenance service ให้กับลูกค้าทั้งที่เป็น Solar Farm และ Solar Roof

Steel Roofing
ผลิต รีดลอนหลังคา สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนหลังคา ช่วยในการ support บ. SPR โดยลูกค้าหรือโรงงานที่ต้องการติดตั้ง Solar Roof บางทีหลังคาอาจจะไม่ support ต้องเปลี่ยนหลังคา บ.นี้ก็จะมาช่วยตรงนี้


Financial Highlight


Revenue : รายได้ 6 เดือนแรก 2016 เท่ากับ 2,428.3 ลบ. ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2015 ที่ 2,598.8 ลบ. ด้วย 2 สาเหตุคือ 1.ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ในปีนี้ 200 ล้าน kWh ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 201.6 ล้าน kWh 2.ราคาขายไฟเฉลี่ยครึ่งปีแรกของปีนี้ 11.2 บ./หน่วย ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนที่ 11.5 บ./หน่วย

สินทรัพย์รวมส่วนใหญ่ เป็นที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ 72%
D/E ลดลงจากสิ้นปีแล้วที่ 1.92 เป็น 1.78


Potential Business

ยังโฟกัสที่การลงทุนใน Solar Farm เพื่อขายกระแสไฟฟ้าให้กับรัฐ หลังจากลงทุนที่ญี่ปุ่นไป 30 MW แรก ก็ยังมีโครงการต่อ ๆ ไปที่กำลังศึกษาความเป็นไปได้อยู่ ในประเทศโฟกัสไปที่ Solar Roof

อัพเดตโครงการ 30 MW ที่ญี่ปุ่น
ลงทุนที่ Tottori คาดว่าจะ COD ได้ใน Q1/2017 ได้รับ FiT ที่ 36 JPY
การทำ Solar Farm ที่ญี่ปุ่นจะต้องแบ่งพื้นที่เป็น 3 ส่วน แล้วทำเป็น Solar Farm ได้ส่วนเดียว ของที่ SPCG ไปทำ ส่วนที่เหลือเป็น Golf Course ซึ่งใช้เวลาเคลียร์พื้นที่ค่อนข้างนาน

แผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ ตั้งเป้าหมายในการผลิตไฟฟ้าในปี 2036 ให้มีกำลังการผลิตติดตั้งที่ 70,335 MW โดยมาจากพลังงานทางเลือก 19,684 MW คิดเป็น 28% ของกำลังการผลิตติดตั้งทั้งหมด
และแบ่งย่อยไปอีกว่าจะมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ 6,000 MW (สิ้นปี 2016 น่าจะมีกำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 2,000 MW)

การคัดเลือกเปิดรับผู้ที่จะขายไฟให้กับรัฐมีแนวโน้มว่าจะใช้วิธี Competitive Bidding แข่งกันยื่นเสนอราคา FiT ใครให้ราคาต่ำที่สุดก็จะได้รับเลือกก่อน

นโยบายภาครัฐ Solar Roof เสรี ตอนนี้ยังเป็นนโยบายนำร่องในระยะแรกก่อน เพื่อทดสอบว่าเมื่อติดตั้ง Solar Roof แล้ว ไฟที่ไหลย้อนเข้าระบบ จะไปรบกวนระบบและคุณภาพของไฟฟ้าตามสายส่งมากน้อยแค่ไหน